วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บุคคลสำคัญในอดีตของไทย

บุคคลสำคัญในอดีตของไทย


1.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
                ประวัติ   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกมีพระเชษฐภคินีคือ พระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรสส, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 สิริรวมการครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา








2.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
                ประวัติ   สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4  มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน)  พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์







3.สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
ประวัติ   สมเด็จพระศรีสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย วีรสตรีไทยสมัยอยุธยา เป็นอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 15 ของกรุงศรีอยุธยาแห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัย ตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้








4.ท้าวสุรนารี
ประวัติ   ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า "โม" (แปลว่า ใหญ่มาก) หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา  เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก (ภายหลังได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร็อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร็อกมาอยู่ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมืองพนมซร็อกมาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นบ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้)








5.พระยาพิชัยดาบหัก 
ประวัติ   พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ  ภายหลังพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือ ออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"








6.ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร
ประวัติ   ท้าวเทพกระษัตรี(เกิดประมาณปี2278 หรือ 2280 -ตายปีประมาณปี 2336) ท้าวศรีสุนทร(ไม่ทราบ)  เป็นวีรสตรีไทย ที่ป้องกันเมืองถลางให้พ้นจากข้าศึกได้ในสงครามเก้าทัพ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ท้าวเทพกระษัตรี มีชื่อเดิมว่า "ท่านผู้หญิงจัน" ท้าวศรีสุนทร เป็นน้องมีชื่อเดิมว่า "คุณมุก" ทั้งสองเป็นบุตรีของจอมรั้งเจ้าเมืองถลาง 







7.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก                                         
ประวัติ   พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (20 มีนาคม พ.ศ. 2279  7 กันยายน พ.ศ. 2352) พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พุทธศักราช 2279 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขณะมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และทรงย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ







8.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
ประวัติ   สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา









9.นายทองเหม็น
ประวัติ   นายทองเหม็นเป็นชาวเมืองบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี เกิดในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นบุคคลที่มีวิชาอาคม ชนิดที่ว่าฟันเเทงไม่เข้า มีความสามารถในการใช้ขวานเป็นอย่างดี
ในประวัติศาสตร์จะไม่ค่อยกล้าวถึงเเต่จะกล่าวถึงวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน คือการป้องกันฆ่าศึกชาวพม่าได้ถึง 6 เดือนเต็ม จนกระทั่งนายกองชาวรามัน ชื่อ สุกี้ ได้รับมอบหมายให้บุกเข้าตีเมืองบางระจัน ด้วยความที่อยุธยามิให้หยิบยืมปืนใหญ่ เพราะเห็นเป็นเมืองที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ ชาวบ้านจึงหล่อปื่นขึ้นเอง เเละสร้างอาวุธทั้งหมดเอง จนถึงวันที่พม่าบุก ชาวบ้านทุกคนต่างช่วยกันจนต้องตายตกไปตามกันทั้งหมู่บ้าน คนทุกคนจึงให้ความเคารพเเละให้ความนับถือในเรื่องรักชาติของชาวบางระจันยิ่งนัก

10.นายขนมต้ม
ประวัติ   นายขนมต้ม เป็นนักมวยคาดเชือกชาวกรุงศรีอยุธยา เกิดที่ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรนายเกิด และนางอี่ มีพี่สาวชื่อนางเอื้อย ทั้งพ่อแม่และพี่ถูกพม่าฆ่าตายหมด และต้องไปอยู่วัดตั้งแต่เล็ก นายขนมต้มถูกพม่ากวาดต้อนไปเชลยในระหว่างเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

11.นายจันหนวดเขี้ยว
                ประวัติ   นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นคนบางระจัน เดิมเป็นคนชื่อจัน ชอบไว้หนวดและแต่งหนวดให้งอนดูเหมือนเขี้ยว  ชาวบ้านทั่วไปจึงเรียนท่านว่า นายจันหนวดเขี้ยว ท่านเป็นผู้กล้าหาญมีฝีมือในการต่อสู้ เป็นเหมือนครูฝึกประจำหมู่บ้านให้เด็กหนุ่มสาว เมื่อทหารพม่ามาข่มเหงชาวบ้าน ท่านจึงออกช่วยชาวจึงเกิดการต่อสู้ เด็กหนุ่มที่ท่านฝึกให้รวมพลังกันรบทหารพม่าได้รับชัยชนะ ท่านจึงให้พวกชาวบ้านไปรวมตัวกันอยู่ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ครั้งหนึ่งกองทัพพม่ายกกำลังมามาก ท่านให้กองสอดแนมในค่ายออกไปดูกำลังพลพม่าที่ยกมา เมื่อท่านทราบว่ากำลังพลไล่เลี่ยกัน จึงคุมกำลัง 100 คน แบ่งออกเป็น 2 พวก เข้าตีกองทัพพม่า อาคา บัญคญี แม่ทัพพม่าจนเสียชีวิตในที่รบ ครั้งสุดท้ายพม่าเปลี่ยนวิธีการรบ คือสร้างค่ายเป็นสามค่ายมาเรื่อย ๆ และยิงปืนใหญ่ออกมา ไม่ต้องออกมารบ จึงสร้างความกดดันให้ชาวบ้านบางระจันเป็นอย่างมาก นายจันหนวดเขี้ยวพร้อมกับชาวบ้านเข้าตีค่ายพม่า ในค่ายพม่ามีสุกี้เป็นแม่ทัพ ท่านถูกทหารพม่าฆ่าตายในสนามรบ








12.พระสุพรรณกัลยา 
ประวัติ   พระสุพรรณกัลยา สุวรรณกัลยา หรือ สุวรรณเทวี เป็นพระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์และเป็นพระพี่นางใน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเอกาทศรถ ประสูติ ณ พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เชื่อว่าพระนามเดิม คือ องค์ทอง ชีวิตในกรุงหงสาวดี พระสุพรรณกัลยา พระราชธิดาใน สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตรีย์ พระนางปรากฏในพงศาวดารพม่าระบุว่า ในปี พ.ศ. 2112 เจ้าฟ้าสองแคว (พระอิสริยยศของพระมหาธรรมราชาเมื่อครั้งได้รับการสถาปนาจากพระเจ้าบุเรงนองให้ขึ้นครองพิษณุโลก) ได้ถวายพระธิดาชื่อ สุวรรณกัลยา พระชันษา 17 ปี กับบริวารและนางสนมรวม 15 คนแก่พระเจ้าบุเรงนอง โดยพระองค์ได้สถาปนาเป็นพระมเหสี มีพระตำหนักและฉัตรส่วนพระองค์ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด เครื่องใช้สิ่งของ ข้าราชบริวารที่เป็นชาวไทยทั้งหมด เมื่อจะเสด็จไปยังที่ใด จะโดยเสลี่ยงหรือพระที่นั่งหรือพระพาหนะใดก็ตาม จะมีเจ้าพนักงานกางฉัตรถวาย และพระองค์ทรงอยู่อย่างเกษมสำราญ








13.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ประวัติ   พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณพ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี








14.พระสุนทรโวหาร
ประวัติ   พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียง ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย[1] เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นกวีราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต








15.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ประวัติ   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน [1] เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา ผู้คนมักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง"








16.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ประวัติ   พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี








17.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ประวัติ   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชสมภพ: 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะนี้ จึงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์นานที่สุดในโลกที่มีพระชนมชีพอยู่ และยาวนานที่สุดในประเทศไทย      พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น ในคราวปี 2524 และปี 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในช่วงปลายพุทธทศวรรษที่ 2540 ตลอดรัชสมัยของพระองค์จนถึงปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดการรัฐประหารโดยกองทัพมากกว่า 15 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 28 คน ประชาชนชาวไทยจำนวนมากเคารพพระองค์  อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาว่า การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  กระนั้น พระองค์เองได้ตรัสเมื่อปี 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้














จัดทำโดย
1.ด.ญ.กนกวรรณ เข็มเพ็ชร์ เลขที่ 19
2.ด.ญ.จรัสรวี สมวงษ์ เลขที่ 25
3.ด.ญ.จิรสุดา ใยบุญมี เลขที่ 26
4.ด.ญนฤมล นาคศิริ เลขที่ 31
5.ด.ญ.ปรีดาพร แก้วเกษ เลขที่ 33
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7








6 ความคิดเห็น: